Diagonal Select - Hello Kitty 2
Electronics Portfolio Science Experiences Management for Early Childhood

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

The Secret of Light

ความลับของแสง The Secret of Light

          แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนกับคลื่นน้ำในทะเล แต่แสงจะเป็นคลื่นที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก  แสงเคลื่อนที่ได้เร็วมากถึง 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งถ้าเป็นมนุษย์ก็สามารถวิ่งได้รอบโลกประมาณ 7 รอบใน 1 วินาที เรามองเห็นวัตถุรอบๆตัวได้ เพราะแสงส่องลงมาโดนวัตถุและสะท้อนจากวัตถุนั้นเข้ามาสู่ตาของเรา เราจึงมองเห็นวัตถุได้ ซึ่งเท่ากับว่าตาของเราคือจอสำหรับรับแสงที่สะท้อนเข้ามาจากวัตถุนั้นเอง และเวลาที่เรามองแสงแดดหรือแสงไฟแล้วเกิดอาการแสบตานั้น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณแสงเร็วเกินไปตาของเรายังปรับไม่ทันจึงทำให้เราแสบตา
          แสงสำคัญมากเพราะถ้าไม่มีแสงสว่างจะทำให้มองไม่เห็นอะไรเลย ซึ่งโลกของเรานั้นมีดวงอาทิตย์ที่คอยส่องแสงสว่างมายังโลกตลอดเวลา และนอกจากแสงสว่างจะช่วยให้เรามองเห็นสิ่งของต่างๆได้แล้วนั้น เรายังนำแสงมาใช้ประโยชน์ต่างๆมากมาย แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงอย่างเดียวและไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง ไปจนถึงวัตถุที่กั้นทางเดินของแสงและแสงจะถูกวัตถุนั้นสะท้อนกลับมาเป็นเส้นตรงแบบเดิมเข้าสู่ตาของเรา

        วัตถุบนโลกของเราเมื่อมีแสงมากระทบจะมีคุณสมบัติต่างกัน 3 แบบ คือ
          1. วัตถุโปร่งแสง     แสงจะทะลุผ่านไปได้แค่บางส่วนเท่านั้น เราจึงมองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่ด้านหลังวัตถุโปรงแสงได้ไม่ชัดเจน
          2. วัตถุโปร่งใส        แสงผ่านไปได้ทั้งหมด ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่ข้างหลังได้ชัดเจน
          3. วัตถุทึบแสง         จะดูดกลืนแสงบางส่วนไว้แล้วก็จะสะท้อนแสงส่วนที่เหลือนเข้าสู่ตาเรา ซึ่งเป็นวัตถุส่วนใหญ่ที่อยู่บนโลกของเรา เช่น ไม้ หิน เหล็ก และตัวของเราเอง

          คุณสมบัติของแสงนั้นมีประโยชน์มากมาย ดังนี้
          1. การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงของแสง นำมาใช้ทำกล้องฉายภาพแบบต่างๆได้
          2. การสะท้อนของแสง นำมาใช้ทำกล้องต่างๆได้ ดังนี้ 
              - กล้องพาราไดร์สโคป หรือกล้องสลับลาย ทำให้มองเห็นภาพต่างๆได้หลายๆภาพ สลับสับเปลี่ยนกันไป
              - กล้องเปริสสโคป หรือกล้องส่องภาพเหมือนระดับสายตา ใช้มองหาวัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นในที่สูงๆ
          3. การหักเหของแสง เกิดจากการที่แสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนละชนิดกันทำให้แสงเกิดการหักเห สามารถใช้ประดิษฐ์เลนส์นูนแบบต่างๆ เพื่อใช้ขยายภาพ ใช้จุดไฟ ใช้รวมเส้นทางเดินของแสง ทำให้เกิดรุ้งกินน้ำ

          เงา 
          ถ้าพูดถึงเรื่องของแสงก็ต้องพูดถึงเรื่องของเงา เพราะเงาเป็นสิ่งที่คู่กับแสง เงาของวัตถุเกิดได้จากแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรงไปได้เรื่อยๆเมื่อมีวัตถุเข้ามาขวางทางเดินของแสงไว้พื้นที่ด้านหน้าของวัตถุจะดูดกลืนและจะสะท้อนแสงบางส่วนออกมา แต่ว่าพื้นที่ด้านหลังของวัตถุนั้นแสงส่องไปไม่ถึงเลยไม่มีการสะท้อนแสงเกิดขึ้น จึงเกิดเป็นพื้นที่สีดำ เรียกว่า เงา




บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์

          วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          Science Experiences Management for Early Childhood  
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันอังคาร  ที่  16  เดือน  กันยายน  พ.ศ. 2557   เวลา   14.10 น. - 17.30 น.


Knowledge

     อาจารย์เปิด  " เพลงวิทยาศาสตร์ " ให้ฟัง แล้วให้วิเคราะห์เนื้อหาของบทเพลงนี้ว่าให้ข้อคิดอย่างไร จากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาบอกชื่อเพลงเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย โดยห้ามซ้ำกัน

     - การนำเสนอบทความของดิฉันและเพื่อน 

       1. หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจำเป็นหรือไม่
            หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของ   กิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่ายส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน : ดูเพิ่มเติม

       2. สอนลูกเรื่องพืช
           การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องพืช นอกจากเด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับชนิดของพืชต่างๆแล้ว ยังสามารถจัดกิจกรรมโดยใช้พืชเป็นสื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็กปฐมวัยได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางด้านต่างๆผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมในระดับปฐมวัย : ดูเพิ่มเติม

      - กิจกรรมพับกระดาษ

         
       สิ่งที่สังเกตได้ คือ เมื่อเราหมุนภาพเร็วๆจะทำให้เราเห็นรูปภาพที่เราวาดทั้ง 2 รูปมาอยู่ด้านเดียวกันเรียกว่า ภาพติดตา 

     

Applications


        - นำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปปรับใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย
        - สามารถนำเทคนิคการสอนของอาจารย์ไปปรับใช้ในการเลือกจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมและตรงตามความต้องการของเด็กเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดี
        - นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ต่อยอดเป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

Evaluation

     - Self : มีความกล้าแสดงออกในการนำเสนอบทความ มีการเตรียมตัวมาล่วงหน้า พูดนำเสนอได้ดี สามารถตอบคำถามอาจารย์ได้
     - Friends : ตั้งใจฟังบทความที่เพื่อนออกนำเสนอ ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามอาจารย์ แต่มีช่วงท้ายชั่วโมงที่เริ่มคุยกันบ้าง
     - Teachers : อาจารย์มีการแนะนำเกี่ยวกับการสรุปบทความ มีการถามคำถาม เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถามทุกคน นอกจากนี้อาจารย์ยังมีการสอนวิธีการทำสื่อ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้จริง



     

วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ

หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่


          หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ 
          อาจารย์ชุติมา  เตมียสถิต  หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา กล่าวถึงที่มาของการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย  ว่ามาจากการเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหามากมาย โดยผ่านการบอกเล่ามากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น เนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิดบ้างไม่ถูกบ้าง  
          สสวท.  จึงได้รวบรวมข้อคิดเห็นเหล่านี้และได้ตั้งคณะทำงานมาร่วมวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยปี พ.ศ.2546  หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยของต่างประเทศและวิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตรสาระวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา  จากนั้นได้ร่วมกันจัดทำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย เพื่อเป็นแนวทางให้ครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 
           พบว่ากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยนั้นตอบโจทย์ครูได้ว่าในการสอนบูรณาการวิทยาศาสตร์ ครูจะสอนอะไร จะสอนแค่ไหน จะสอนอย่างไร และจะใช้สื่อรอบ ๆ ตัวเด็กนั้นมาเป็นสื่อในการเรียนรู้อย่างไร เพราะฉะนั้นคุณครูมีแนวทางสามารถที่จะจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัยได้แน่นอน
          ทุกประเทศในโลกจะสอนปฐมวัยในเชิงบูรณาการ ก็คือจะบูรณาการทุกวิชาไว้ด้วยกัน  เพราะถือว่าเด็กจะต้องพัฒนาเป็นองค์รวม  แต่การที่ครูจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการพัฒนาเด็กเป็นองค์รวมนั้น จะต้องมีมาตรฐานเป็นที่ตั้งในของแต่ละสาระ เช่น คณิตศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน วิทยาศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน ครูก็จะยึดเอากรอบมาตรฐานมาจัดทำเป็นหลักสูตรบูรณาการปฐมวัยของตัวเอง ทุกประเทศจะเป็นแบบนี้ รวมทั้งประเทศเราด้วย   อ. ชุติมากล่าวทิ้งท้าย

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์

          วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          Science Experiences Management for Early Childhood  
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันอังคาร  ที่  9  เดือน  กันยายน  พ.ศ. 2557   เวลา   14.10 น. - 17.30 น.







Knowledge 








 Applications 


        นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย ให้ตรงตามความต้องการของเด็กเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดี นอกจากนี้ยังสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Evaluation


     - Self : แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียนและร่วมตอบคำถามอาจารย์
     - Friends : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียนเป็นอย่างดี และร่วมตอบคำถามอาจารย์
     - Teachers : อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิดร่วมกับการบรรยาย จะคอยกระตุ้นให้นักศึกษาร่วมตอบคำถามและให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนให้มากที่สุด





บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์

          วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          Science Experiences Management for Early Childhood  
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันอังคาร  ที่  3 เดือน  กันยายน  พ.ศ. 2557   เวลา   14.10 น. - 17.30 น.



กิจกรรม โครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ  ( Thinking Faculty )




กิจกรรมที่ได้เข้าร่วม

        1. นิทรรศการ การคิดวิจารณญาณ
        2. นิทรรศการ การคิดเป็นระบบ
        3. นิทรรศการ การคิดวิเคราะห์
        4. นิทรรศการ การคิดสังเคราะห์
        5. นิทรรศการ การคิดสร้างสรรค์
        6. นิทรรศการ ผลงานการคิด


Knowledge 

        สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมมาปรับใช้ และนำไปเป็นแนวทางในการออกแบบวางแผนการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมและตรงตามความต้องการของเด็ก

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์

          วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          Science Experiences Management for Early Childhood  
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันอังคาร  ที่  26  เดือน  สิงหาคม  พ.ศ. 2557   เวลา   14.10 น. - 17.30 น.


Knowledge





Applications


            ได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปต่อยอดศึกษาเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้จัดการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย


Evaluation


     - Self : ตั้งใจเรียน ร่วมตอบคำถามและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
     - Friends : ตั้งใจเรียนเป็นบางคน และมีบ้างที่ร่วมตอบคำถามอาจารย์
     - Teachers : อาจารย์มีเทคนิคในการสอนที่หลายหลาก มีการยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาได้คิดตาม นอกจากนี้ยังมีการตั้งคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้เรียนได้คิดสังเคราะห์