หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน
โดยไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น
เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ
และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
อาจารย์ชุติมา เตมียสถิต หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา กล่าวถึงที่มาของการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ว่ามาจากการเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ
พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหามากมาย โดยผ่านการบอกเล่ามากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น
เนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิดบ้างไม่ถูกบ้าง
สสวท. จึงได้รวบรวมข้อคิดเห็นเหล่านี้และได้ตั้งคณะทำงานมาร่วมวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยปี
พ.ศ.2546 หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยของต่างประเทศและวิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตรสาระวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา จากนั้นได้ร่วมกันจัดทำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย เพื่อเป็นแนวทางให้ครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัยตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2550
พบว่ากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยนั้นตอบโจทย์ครูได้ว่าในการสอนบูรณาการวิทยาศาสตร์ ครูจะสอนอะไร จะสอนแค่ไหน จะสอนอย่างไร
และจะใช้สื่อรอบ ๆ ตัวเด็กนั้นมาเป็นสื่อในการเรียนรู้อย่างไร
เพราะฉะนั้นคุณครูมีแนวทางสามารถที่จะจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัยได้แน่นอน
ทุกประเทศในโลกจะสอนปฐมวัยในเชิงบูรณาการ
ก็คือจะบูรณาการทุกวิชาไว้ด้วยกัน เพราะถือว่าเด็กจะต้องพัฒนาเป็นองค์รวม
แต่การที่ครูจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการพัฒนาเด็กเป็นองค์รวมนั้น
จะต้องมีมาตรฐานเป็นที่ตั้งในของแต่ละสาระ เช่น คณิตศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน
วิทยาศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน
ครูก็จะยึดเอากรอบมาตรฐานมาจัดทำเป็นหลักสูตรบูรณาการปฐมวัยของตัวเอง
ทุกประเทศจะเป็นแบบนี้ รวมทั้งประเทศเราด้วย อ.
ชุติมากล่าวทิ้งท้าย
ลองปรับโดยเมื่อวางเม้าส์ที่ชื่อเรื่องเมื่อกดแล้วจะLinkไปที่บทความต้นฉบับและวางเมา้ส์ที่กรอบมาตรฐานวิทย์เมื่อกดแล้วจะLinkไปยังกรอบมาตรฐานฉบับเต็มนะคะลองทำดูนะคะ
ตอบลบ