Diagonal Select - Hello Kitty 2
Electronics Portfolio Science Experiences Management for Early Childhood

วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์

          วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          Science Experiences Management for Early Childhood  
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันอังคาร  ที่  2  เดือน  ธันวาคม  พ.ศ. 2557   เวลา   14.10 น. - 17.30 น.

Knowledge

                -  ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิจัยและการสอนตามแนวโทรทัศน์ครู  ดังนี้      

                วิจัย   ( Research )         

                -  เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
                -  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง
      : ผลการจัดกิจกรรมเรื่องแสงที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้
      : การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเครื่องดื่มสมุนไพร
     : ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้
                - เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยระหว่างก่อนกับหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
                - เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยระหว่างก่อนกับหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
                - เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยระหว่างที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะ

                โทรทัศน์ครู   ( Teachers TV. )

                - เรียนรู้วิทยาศาสตร์
                - เสียงในการได้ยิน :  เรื่องราวของเสียง
                - จิตวิทยาศาสตร์   :  การทำอย่างไรให้เด็กมีจิตวิทยาศาสตร์ การสร้างบรรยากาศการเรียน

บรรยากาศการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู

 Applications 

         -  สามารถนำความรู้ที่ได้จากการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูมาใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย
         -  นำความรู้ที่ได้รับไปใช้เป็นแนวทางในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์
         -  นำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าหารู้เพิ่มเติม


  Evaluation 

     - Self : ตั้งใจฟังที่เพื่อนออกนำเสนอ  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆในห้องเรียน 
     - Friends : ตรงต่อเวลา ให้ความสนใจและตั้งใจทำกิจกรรม มีคุยกันบ้างเป็นบางคนในขณะที่เพื่อนออกนำเสนองาน
     - Teachers : อาจารย์สอนสนุก ชัดเจน เข้าใจง่าย มีการนำเทคนิค กิจกรรมใหม่ๆมาสอนนักศึกษา ซึ่งทุกกิจกรรมสามารถนำไปใช้สอนได้จริง นอกจากนี้อาจารย์ยังให้คำแนะนำและความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่เพื่อนออกนำเสนอ





วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย



ชื่อผู้วิจัย  สำรวย สุขชัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

                ความสำคัญและความเป็นมา
                การวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้แก่  พ่อแม่ ผู้ปกครองและครู นำไปเป็นแนวทางในการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปลูกฝังการใช้ทรัพยากรได้อย่างพอเพียงตามวิถีชีวิตและความเหมาะสมกับวัย

                จุดมุ่งหมาย
                เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างก่อนและหลังการทดลอง

                สมมติฐานในการวิจัย
                เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง

                ขอบเขตของการวิจัย
                การวิจัยในครั้งนี้เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อมุ่งให้เด็กได้รับการฝึกฝนและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการลงความเห็น โดยจัดการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนเรื่อง ร่างกายของฉัน ธรรมชาติให้สีสัน ผักและขยะ ที่สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของเด็ก ภายใต้กรอบแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกัน เงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม

                ตัวแปรที่ใช้
                • ตัวแปรอิสระ :  การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัย
                • ตัวแปรตาม : ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 3 ทักษะ คือ
                   - ทักษะการจำแนกประเภท
                   - ทักษะการสื่อความหมาย
                   - ทักษะการลงความเห็น

                ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
                เด็กปฐมวัยชาย – หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่  2  ภาคเรียนที่ 2
 ปีการศึกษา 2553  โรงเรียนวัดยางสุทธาราม  เขตบางกอกน้อย  สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร  จำนวน  27 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง

                นิยามศัพท์เฉพาะ
                1. เด็กปฐมวัย  หมายถึง  เด็กปฐมวัยชาย หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่  2  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2553  โรงเรียนวัดยางสุทธาราม  แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย 
สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
                2. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  หมายถึง  พฤกติกรรมที่เด็กแสดงออกถึงการเรียนรู้ที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อค้นหาคำตอบเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทดสอบได้ด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 ทักษะ คือ
                 - ทักษะการจำแนกประเภท  หมายถึง ความสามารถในการจัดแบ่งสิ่งของออกเป็นหมวดหมู่
                - ทักษะการสื่อความหมาย หมายถึง ความสามารถในการนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการค้นพบและปฏิบัติจริง ด้วยการสังเกต สำรวจ และทดลองหรือจากแหล่งข้อมูลต่างๆ โดยนำมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ
                - ทักษะการลงความเห็น หมายถึง  ความสามารถในการสรุปข้อมูลจากที่ได้ค้นพบที่ได้จากการเรียนรู้และอธิบายสิ่งนั้นอย่างมีเหตุผล
                3. การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็กภายใต้กรอบแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและมีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การสำรวจ สังเกต ทดลอง สาธิต

                เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                1. แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
                2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                การดำเนินกิจกรรม
                ผู้วิจัยกำหนดแผนจัดการเรียนรู้ 4 หน่วย เป็นเวลา 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ3วัน จัดเนื้อหาการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามวัยของเด็กโดยให้เด็กได้ลงมือกระทำ ปฏิบัติจริง ได้สำรวจ ทดลอง สนทนาซักถาม อภิปรายและแสดงความเห็นโดยมีกรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอประมาณ การมีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกัน เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม เช่น หน่วยขยะแปลงกาย โดยมีวิธีการดังนี้
                - เด็กจะนำของเหลือใช้มาประดิษฐ์ของเล่นตามความสนใจ ได้รู้จักรักษาความสะอาดขยะก่อนนำมาใช้และจะต้องมีความอดทนที่จะประดิษฐ์ให้เสร็จ
                - เด็กจะได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ คือ การจำแนกสิ่งที่นำมาใช้ได้ และได้อธิบายลงความเห็นถึงประโยชน์ของขยะที่นำมาประดิษฐ์ของเล่น

                การสรุปผลการวิจัย
                ระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับพอใช้ แต่เมื่อได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้วระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับที่ดีมากและสูงขึ้นกว่าเดิม


บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์

          วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          Science Experiences Management for Early Childhood  
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันอังคาร  ที่  25  เดือน  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557   เวลา   14.10 น. - 17.30 น.

 Knowledge 


         - ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิจัยและการสอนตามแนวโทรทัศน์ครู  ดังนี้

                :  การกำเนิดเสียง   จาก โทรทัศน์ครู      
                การกำเนิดของเสียง  คือ เสียงเกิดจากการสั่นของมวลเนื้อวัตถุ  เมื่อมวลเนื้อวัตถุถูกเคาะแล้วเกิดการสั่นสะเทือนจึงทำให้เกิดเสียงออกมาให้ได้ยิน จากการทดลองนี้เด็กได้ประสบการณ์เกี่ยวกับทักษะทางวิทยาศาสตร์ คือ ได้ทดลองรู้จักคิด  ฟัง และสังเกต  ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปปรับประยุกต์ใช้ได้จริงได้ในชีวิตประจำวันได้
                                                                                        ( นำเสนอโดย  นางสาวธิดามาศ    ศรีปาน )

                :  วิจัยเรื่อง  ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย              
                 ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการ ใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยอยู่มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้ง โดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด
                                                                                        ( นำเสนอโดย  นางสาววรรนิศา  นวลสุข )

                :  สารอาหารในชีวิตประจำวัน  จากโทรทัศน์ครู     
                คุณครูนํากิจกรรมมาให้เด็กทําในห้องเรียนโดย มีขนมและกับข้าวมาให้เด็กๆแต่ล่ะกลุ่มครูบอกถึงประโยชน์และอาหารให้เด็กๆวิเคาะอาหารอาหารของแต่ล่ะกลุ่มว่ามีประโยชน์อย่างไร
                                                                                        ( นำเสนอโดย นางสาวพัชราภรณ์  พระนาค )

                :  ไฟฟ้ากับพืช   จากโทรทัศน์ครู     
                สอนเรื่องการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้สื่อการเรียนรู้นอกห้องเรียน และให้นักเรียนสังเกตการณ์เจริญเติบโตของพืช  จากนั้น ให้เด็กทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องไฟฟ้าและพันธุ์พืช  ซึ่งจากการที่เด็กได้ลงมือทำแล้ว  มีสื่อ  มีอุปกรณ์ให้เด็กได้ทำการทดลองเด็กก็จะเกิดทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์
                                                                                         ( นำเสนอโดย  นางสาวสุนิสา  สะแลแม )

                :  วิจัยเรื่อง  ผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องแสงที่มีผลต่อทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย    
                แสง หมายถึง  เรื่องราวที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรม ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้เนื้อหาเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดแสงและการเดินทางของแสง พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแสงที่มนุษย์สร้างขึ้นตัวกลางของแสง การหักเหของแสง การสะท้อนแสง แสงสี และแสงกับการเจิญเติบโตของพืช
                                                                                        ( นำเสนอโดย  นางสาวศิริวิมล   หมั่นสนธ์ )

                :  วิจัยเรื่อง  การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการทำกิจกรรมน้ำสมุนไพร                         
                เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นเมื่อได้รับการจัดกิจกรรมการทำน้ำสมุนไพร
                                                                                        ( นำเสนอโดย  นางสาวอรชร  ธนชัยวนิชกุล )


   





 กิจกรรมทำขนม Waffle 


                ส่วนผสม
          1. แป้งทำขนม Waffle
          2. เนย(Better)
          3. ไข่ไก่ (Egg)
          4. น้ำเปล่า(Water)

               วิธีการทำ
          1.เทแป้งลงในภาชนะที่เตรียมไว้
          2.นำไข่ใส่ลงไปตามด้วยเนยจืดคนให้เข้ากัน
          3.เติมน้ำเพื่อไม่ให้แป้งข้นจนเกินไป
          4.คนจนแป้งเข้าที่เป็นเนื้อเดียวกันก็จะได้แบบนี้
          5.แบ่งแป้งใส่ถ้วยที่เตรียมไว้
          6.นำเนยทาที่แม่พิมพ์ที่เตรียมไว้เพื่อไม่ให้แป้งติดแม่พิมพ์


             

 Applications 


         -  สามารถนำความรู้ที่ได้จากการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูมาใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย
         -  นำกิจกรรมทำขนม Waffle ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมให้แก่เด็ก ซึ่งเด็กจะได้ทักษะต่างๆมากมายจากกิจกรรมนี้ เพราะเด็กได้ลงมือทำจริงและปฏิบัติด้วยตนเอง


 Evaluation 

     - Self : ตั้งใจฟังที่เพื่อนออกนำเสนอ  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆในห้องเรียน 
     - Friends : ตรงต่อเวลา ให้ความสนใจและตั้งใจทำกิจกรรม
     - Teachers : อาจารย์สอนสนุก ชัดเจน เข้าใจง่าย มีการนำเทคนิค กิจกรรมใหม่ๆมาสอนนักศึกษา ซึ่งทุกกิจกรรมสามารถนำไปใช้สอนได้จริง

สรุปบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

 บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 


   
 อุปกรณ์ในการทดลอง 
      1. ฐานหลอดไฟและหลอดไฟดวงเล็ก
      2. ถ่านไฟฉายชนิดแบน
      3. สายไฟชนิดที่มีตัวหนีบปากจระเข้

      ขั้นตอนการทดลอง
      1. นำสายไฟเสียบเข้ากับฐานหลอดไฟและนำปลายที่มีตัวหนีบมาหนีบเข้ากับขั้วถ่านไฟฉาย
      2. และจบพบว่ามีดวงไฟที่ติดทันที
      3. หนีบปากจระเข้เข้ากับขั้วหลอดไฟฉายและเชื่อมสายไฟโดยการหนีบปากจระเข้ไว้ที่หมุดเหล็ก

      Concept
             ที่โคมไฟจิ๋วติดและดับได้ก็เพราะว่า เกิดจากการเปิดสวิตซ์นั้นเอง เพราะกระแสไฟสามารถไหลผ่านจากถ่านไฟฉายไปตามสายไฟและเช้าสู่หลอดไฟได้ แต่เมื่อปิดสวิตซ์วงจรไฟฟ้าก็ถูกตัดขาดกระแสไฟจึงไม่สามารถเดินทางไปสู่หลอดไฟได้



วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์

          วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          Science Experiences Management for Early Childhood  
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันอังคาร  ที่  18  เดือน  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557   เวลา   14.10 น. - 17.30 น.

 Knowledge 


           - อาจารย์ให้กลุ่มที่ยังไม่ได้ออกนำเสนอในสัปดาห์ก่อนออกมานำเสนอ ดังนี้
           Group 7  นกหงส์หยก
           Group 8  สับปะรด
           Group 9  ส้ม





          - ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิจัยและการสอนตามแนวโทรทัศน์ครู  ดังนี้

           : นมสีกับน้ำยาล้างจาน ที่มาจากYouTube
 ขั้นตอนการทดลอง ใส่นม-ใส่สีผสมอาหาร-ใส่น้ำยาล้างจาน  หลังจากนั้นสังเกตุปฏิกิริยาในการทดลอง
 ในเรื่องนี้เด็กๆได้เรียนรู้ในการสังเกต การทดลอง
                                                                                       ( นำเสนอโดย  นางสาวกมลชนก หยงสตาร์ )

           :  นำเสนอวิจัย สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับประสาทสัมผัสทั้ง5
วิจัยนี้เด็กๆได้เรียนรู้- การสังเกต   - การใช้ประสัมผัสทั้ง5
                                                                                       ( นำเสนอโดย นางสาวจุฑาทิพย์ แก่นแก้ว  )
                                                              
           : นำเสนองานวิจัย กระบวนการพัฒนาวิทยาศาสตร์พื้นฐานส่งเสริมศิลปะสร้างสรรค์
                                                                                        ( นำเสนอโดย นางสาวรัตติพร ชัยยัง  )

            : นำเสนองานวิจัย ผลการเรียนรู้ทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาตร์เด็กปฐมวัย  วิจัยนี้เด็กได้เรียนรู้ทักษะ - การจำแนก  - ทักษะการสื่อความหมาย
                                                                                         ( นำเสนอโดย นางสาวอนุสรา  แก้วชู  )

            : นำเสนอโทรทัศน์ครูกิจกรรมวิทยาศาสตณของเด็กปฐมวัยเรื่องหนังสือลอย   กิจกรรมนี้เด็ฏๆได้ทักษะ - การสังเกต  - การจำแนก  - ทักษะการสื่อความหมาย
                                                                                          ( นำเสนอโดย นางสาวรัชดาภรณ์  มณีศรี  )


กิจกรรมCOOKINK  (ทาโกยากิ)

       วัสดุ / อุปกรณ์ในการทำทาโกยากิ




           กิจกรรม Cooking (ทาโกยากิ) ครูเเบ่งออกเป็น4ฐาน ดังนี้

       1. ฐานหันผัก
       2. ฐานเจียวไข่
       3. ฐานใส่เครื่องปรุง
       4. ฐานนำไข่ใส่หลุมทาโกยากิ


            ขั้นตอนการทำ

      1. หั่นแครอท2แท่ง ปูอัด3เส้น ตั้นหอม1เส้น
      2. ตีไข่แล้วใส่ลงถ้วยตัวเองคนละ1ทัพพี
      3. นำถ้วยไข่ไปใส่เครื่องปรุง ดังนี้
          - แครอท1ช้อนชา
          - ปูอัดครึ่งช้อนชา
          - ต้นหอม1ช้อนชา
          - ซอลปรุงรสครึ่งช้อนชา(แล้วแต่ความชอบ)
          - ข้าวเปล่า1ช้อนโต๊ะ
      4. ตั้งกระทะให้ร้อนนำเนยรสจืดลงใส่เล็กน้อยเพื่อไม่ให้ติดกระทะและเทส่วนผสมลงไปในกระทะทาโกยากิ


 Applications 

   
           - นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้
           - นำไปประยุกต์ในการเขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์
           - นำวิธีการสอน เทคนิคในการสอนไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยได้
           - ความรู้เรื่องวิจัยและการทดลองจากโทรทัศน์ครู
           - สามารถนำการทำอาหารไปจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัย


 Evaluation 


            - Self : ให้ความสนใจในการทำกิจกรรม
            - Friends : มีการเตรียมความพร้อมมาอย่างดีทั้งการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
             - Teachers : ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ทำให้นักศึกษาได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น มีกิจกรรมที่ดีมาให้นักศึกษาทำเสมอ ทำให้มีความสนุกในการเรียน